รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ รองอธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สวนดุสิตโพล
ม.ราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ
ที่มีต่อสาขาวิชาที่เรียนแล้วจะได้งานทำ
โดยสำรวจจากผู้ประกอบการผู้ใช้บัณฑิตที่กระจายตามสาขาวิชาต่างๆ นักวิชาการที่มีความสำคัญในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชาติ
กลุ่มนายธนาคารซึ่งมีผลต่อการให้กู้ยืมเงิน นักปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับกลาง
ฝ่ายบัญชี หัวหน้าฝ่ายพัสดุการคลังนโยบาย ฯลฯ รวม 1,376 ตัวอย่าง
เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่ได้มองธุรกิจของตัวเองแค่วันนี้
แต่มองไปถึง 3-5 ปีข้างหน้า
เพื่อสะท้อนออกมาว่าคนกลุ่มนี้ต้องการคนทำงานประเภทใดเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
และเป็นส่วนหนึ่งที่ม.ราชภัฎสวนดุสิตนำมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรต่างๆ
นอกจากนี้ เป็นการแนะแนวทางให้กับอาจารย์แนะแนว 200 กว่าคนทั่วปริมณฑล
เนื่องจากครูแนะแนวจะต้องดูเรื่องการบริหารความเสี่ยงการบริหารอนาคต
เพราะการแนะแนวต่อไปในอนาคตจะต้องประกันความเสี่ยงว่าเรียนแล้วจะต้องไม่ตกงาน
และเพราะความต้องการแรงงานมีความเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของตลาด และภาวะเศรษฐกิจ
ผลการสำรวจ 10
1. การบัญชี - 19.71% 2. แพทยศาสตร์ – 18.75%
3. บริหารธุรกิจ – 12.02%
4. คอมพิวเตอร์ – 10.10%
5. วิศวกรรมศาสตร์ – 10.10%
6. การตลาด – 8.65%
7. นิติศาสตร์ – 8.17%
8. พยาบาลศาสตร์ – 4.81%
9. การจัดการ – 4.33%
10.รัฐศาสตร์ – 3.36%
รศ.ดร.สุขุม
กล่าวเสริมว่า เหตุที่สาขาการบัญชีอยู่ในอันดับ 1 เนื่องจากการทำธุรกรรมต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นการบริหารธุรกิจ การจัดการ
การประกอบกิจการไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ต้องใช้บุคลากรทางด้านบัญชีทั้งสิ้น
นอกจากนี้ หากธุรกิจมีนโยบายดีเท่าใดแต่ก้นถุงรั่ว
หรือไม่มีการคิดเรื่องความคุ้มทุน ค่าใช้จ่าย ก็จบ
สำหรับแพทย์นั้นถือว่ามีการขาดแคลนบุคลากร
แต่คนที่จะเรียนได้ต้องมีสติปัญญาที่ดี
และต้องมีค่าใช้จ่ายในการเรียนที่สูงถ้าไม่ได้ทุนรัฐบาลซึ่งแพทย์และพยาบาลอยู่ในอันดับทอปเท็นตลอด
ส่วนการตลาดหรือบริหารจริงๆ แล้วต้องยอมรับว่า
ความต้องการด้านบุคลากรด้านการตลาดมีมาก แม้กระทั่ง
มหาวิทยาลัยยังต้องมีฝ่ายการตลาดของตัวเองเพราะยุคของการแข่งขันมีมากขึ้น
ด้านคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันเนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทำให้ต้องอาศัยคนกลุ่มนี้
สำหรับนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ด้วยความที่โลกอยู่ในยุคของการแข่งขัน
การแย่งชิงทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด เรื่องของกฎหมาย
การปกครองเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ
โดยหากเปรียบเทียบผลวิจัยระหว่างปีที่ผ่านมากับปีนี้เห็นการเปลี่ยนแปลง
คือ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์เดิมอยู่ต่ำกว่าทอปเท็น
แต่ที่สามารถก้าวขึ้นอันดับทอปเท็นได้เชื่อว่าเป็นเพราะปัจจุบันเกิดกรณีความขัดแย้งที่ต้องอาศัยด้านกฎหมายมากขึ้น
ในขณะที่ปีที่แล้วการเรียนสาขาสิ่งแวดล้อมมีความชัดเจนมากขึ้นก็ติดอยู่ในอันดับ
หรืออย่างเมื่อสองปีก่อน
ในช่วงรัฐบาลของอดีตนายก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
สาขาวิชาที่ขึ้นทอปเท็นก็จะเป็นเรื่องของบริหารจัดการ การจัดการองค์กร
เพราะรัฐบาลเน้นเรื่องของธุรกิจ หรือถ้าเป็น 4-5 ปีก่อนเรื่องของไอทีมาแรงก็เป็นไอที
เทคโนโลยีสารสนเทศ
อย่างไรก็ดี
การทำโพลสำรวจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่างๆ
เนื่องจากการศึกษาของไทยขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่น
หลังการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคมนี้
ไม่ว่าพรรคการเมืองใดได้ขึ้นเป็นรัฐบาลก็เชื่อว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายซึ่งส่งผลต่อการศึกษาอย่างแน่นอน
เช่น
ถ้ารัฐบาลมุ่งไปเรื่องของอุตสากรรมหลักสูตรด้านอุตสาหกรรมก็จะเกิด
หรืออย่างช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมุ่งเรื่องของการเงินธนาคารทำให้ธนาคารเกิดขึ้นหลายแห่ง
หลักสูตรด้านการเงินธนาคารก็เกิด
หรือช่วงที่มีเรื่องของประชาธิปไตยคนก็มองว่าถ้าต้องการเรียนกฎหมายก็ควรเรียนที่ธรรมศาสตร์
นอกจากนี้ หากหลังการเลือกตั้งเกิดรัฐประหารอีกนโยบายต่างๆ ก็ต้องเปลี่ยน
อาชีพต่างๆ ที่จะเรียนก็จะมีผลเปลี่ยนแปลงไปด้วย
เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่ได้มองธุรกิจของตัวเองแค่วันนี้ แต่มองไปถึง 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อสะท้อนออกมาว่าคนกลุ่มนี้ต้องการคนทำงานประเภทใดเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเป็นส่วนหนึ่งที่ม.ราชภัฎสวนดุสิตนำมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรต่างๆ
นอกจากนี้ เป็นการแนะแนวทางให้กับอาจารย์แนะแนว 200 กว่าคนทั่วปริมณฑล เนื่องจากครูแนะแนวจะต้องดูเรื่องการบริหารความเสี่ยงการบริหารอนาคต เพราะการแนะแนวต่อไปในอนาคตจะต้องประกันความเสี่ยงว่าเรียนแล้วจะต้องไม่ตกงาน และเพราะความต้องการแรงงานมีความเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของตลาด และภาวะเศรษฐกิจ
ผลการสำรวจ 10
1. การบัญชี - 19.71% 2. แพทยศาสตร์ – 18.75%
3. บริหารธุรกิจ – 12.02%
4. คอมพิวเตอร์ – 10.10%
5. วิศวกรรมศาสตร์ – 10.10%
6. การตลาด – 8.65%
7. นิติศาสตร์ – 8.17%
8. พยาบาลศาสตร์ – 4.81%
9. การจัดการ – 4.33%
10.รัฐศาสตร์ – 3.36%
รศ.ดร.สุขุม กล่าวเสริมว่า เหตุที่สาขาการบัญชีอยู่ในอันดับ 1 เนื่องจากการทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารธุรกิจ การจัดการ การประกอบกิจการไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ต้องใช้บุคลากรทางด้านบัญชีทั้งสิ้น นอกจากนี้ หากธุรกิจมีนโยบายดีเท่าใดแต่ก้นถุงรั่ว หรือไม่มีการคิดเรื่องความคุ้มทุน ค่าใช้จ่าย ก็จบ
สำหรับแพทย์นั้นถือว่ามีการขาดแคลนบุคลากร แต่คนที่จะเรียนได้ต้องมีสติปัญญาที่ดี และต้องมีค่าใช้จ่ายในการเรียนที่สูงถ้าไม่ได้ทุนรัฐบาลซึ่งแพทย์และพยาบาลอยู่ในอันดับทอปเท็นตลอด ส่วนการตลาดหรือบริหารจริงๆ แล้วต้องยอมรับว่า ความต้องการด้านบุคลากรด้านการตลาดมีมาก แม้กระทั่ง มหาวิทยาลัยยังต้องมีฝ่ายการตลาดของตัวเองเพราะยุคของการแข่งขันมีมากขึ้น
ด้านคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทำให้ต้องอาศัยคนกลุ่มนี้ สำหรับนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ด้วยความที่โลกอยู่ในยุคของการแข่งขัน การแย่งชิงทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด เรื่องของกฎหมาย การปกครองเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ
โดยหากเปรียบเทียบผลวิจัยระหว่างปีที่ผ่านมากับปีนี้เห็นการเปลี่ยนแปลง คือ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์เดิมอยู่ต่ำกว่าทอปเท็น แต่ที่สามารถก้าวขึ้นอันดับทอปเท็นได้เชื่อว่าเป็นเพราะปัจจุบันเกิดกรณีความขัดแย้งที่ต้องอาศัยด้านกฎหมายมากขึ้น ในขณะที่ปีที่แล้วการเรียนสาขาสิ่งแวดล้อมมีความชัดเจนมากขึ้นก็ติดอยู่ในอันดับ
หรืออย่างเมื่อสองปีก่อน ในช่วงรัฐบาลของอดีตนายก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สาขาวิชาที่ขึ้นทอปเท็นก็จะเป็นเรื่องของบริหารจัดการ การจัดการองค์กร เพราะรัฐบาลเน้นเรื่องของธุรกิจ หรือถ้าเป็น 4-5 ปีก่อนเรื่องของไอทีมาแรงก็เป็นไอที เทคโนโลยีสารสนเทศ
อย่างไรก็ดี การทำโพลสำรวจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่างๆ เนื่องจากการศึกษาของไทยขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่น หลังการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคมนี้ ไม่ว่าพรรคการเมืองใดได้ขึ้นเป็นรัฐบาลก็เชื่อว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายซึ่งส่งผลต่อการศึกษาอย่างแน่นอน
เช่น ถ้ารัฐบาลมุ่งไปเรื่องของอุตสากรรมหลักสูตรด้านอุตสาหกรรมก็จะเกิด หรืออย่างช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมุ่งเรื่องของการเงินธนาคารทำให้ธนาคารเกิดขึ้นหลายแห่ง หลักสูตรด้านการเงินธนาคารก็เกิด
หรือช่วงที่มีเรื่องของประชาธิปไตยคนก็มองว่าถ้าต้องการเรียนกฎหมายก็ควรเรียนที่ธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ หากหลังการเลือกตั้งเกิดรัฐประหารอีกนโยบายต่างๆ ก็ต้องเปลี่ยน อาชีพต่างๆ ที่จะเรียนก็จะมีผลเปลี่ยนแปลงไปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น