5 เทคนิคค้นหาตัวเองเข้าคณะที่อยากเรียน

5 เทคนิคค้นหาตัวเองเข้าคณะที่อยากเรียน

เคยมีคนบอกว่าการที่ได้เรียน มหาวิทยาลัย คณะที่ใช่สำหรับตัวเอง คือพื้นฐานแห่งความสุข เพราะถ้าเรามีความสุขที่อยากจะเรนียน ผลเรียนก้ออกมาดี มีงานในในฝันที่ดีๆ เรียกได้ว่า โคตรฝันเลยอ่ะ แต่จะทำยังไงให้ความฝันเราเป็นจริง วันนี้ ?5 เทคนิคค้นหาตัวเองเข้าคณะที่อยากเรียน มาฝากกันคะ…ใครที่ไม่ได้อยู่ในเกฑณ์แล้วก็ลองเช็คตัวเองดูก็ได้นะ

1. โตขึ้นอยากทำงานอะไร
ปกติวิธีที่น้องๆ ทำอยู่คือ คิดก่อนว่าจะเรียนอะไรดี แล้วค่อยคิดต่อว่าจบออกมาแล้วจะทำงานอะไร ซึ่งหลายคนตันเพราะวิธีคิดแบบนี้ สุดท้ายก็ไม่รู้ว่าเราเหมาะจะเรียนคณะไหน แต่ถ้าเปลี่ยนวิธีโดยให้คิดข้ามไปอนาคตเลยว่าอยากทำงานอะไร เช่น หากอยู่ ม.6 ก็นึกข้ามไปเลยว่าอีก 5 ปีข้างหน้าอยากเป็นอะไร เป็นการมองที่จุดหมายปลายทางเลย การมองถึงอาชีพในอนาคตจะช่วยสโคปแนวทางการเรียนให้ชัดเจนขึ้น น้องๆ ก็จะหาต่อได้ว่าถ้าอยากทำงานนั้นจะต้องเรียนคณะใด เช่น
  • โตขึ้นอยากเป็นครู ก็ต้องเรียนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ หรือเรียนคณะที่สามารถไปต่อยอดเป็นครูได้
  • โตขึ้นอยากเป็นเภสัชกร ก็ต้องเรียนคณะเภสัชศาสตร์
  • โตขึ้นอยากเป็นวิศวกร ต้องเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์
อย่างไรก็ตามมีบางอาชีพที่เรียนได้หลายสาขา เพราะไม่ได้เป็นวิชาชีพเฉพาะทาง เช่น อยากเป็นแอร์โฮสเตส น้องๆ สามารถเรียนตรงสายอย่างการจัดการการบินก็ได้ นอกจากนี้สายมนุษยศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ฯลฯ ก็เป็นแอร์โฮสเตสได้ หากมีคุณสมบัติถึง เช่น ทักษะด้านภาษา บุคลิกภาพ เป็นต้น
ดังนั้นถ้าน้องคนไหนยังคิดไม่ตกว่าอยากเรียนอะไร ลองนึกดูว่าอยากทำงานอะไร วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีคิดที่รวบรัดและค่อนข้างได้ผลมาก หากมีอาชีพที่ชอบหลายอาชีพ จดมาหลายๆ อาชีพก็ได้ค่ะ แล้วค่อยมาวิเคราะห์ต่อด้วยตัวแปรอื่นๆ ข้อต่อไป สุดท้ายจะได้แนวทางที่เหมาะกับเราที่สุดเอง

2. หาความชอบและสิ่งที่ถนัด
ไม่ว่าทำอะไรก็ตาม หากได้ทำสิ่งที่ชอบและถนัดจะทำให้ทำสิ่งนั้นได้ดีเสมอ ว่างๆ ลองนั่งอยู่กับตัวเองซักวันนึง หากิจกรรมที่ชอบและสิ่งที่เราถนัด และถ้าให้ดีหาเผื่อไปถึงความสามารถพิเศษเลยก็ได้ จดไว้ให้เยอะที่สุด เช่น ชอบวาดภาพ ชอบร้องเพลง ชอบทำอาหาร ชอบเล่นเว็บบอร์ด ฯลฯ ความชอบและความสามารถพิเศษเหล่านี้สามารถต่อยอดไปทั้งการเรียนและการทำงานได้นะคะ บางอย่างที่คนอื่นมองว่าไร้สาระ แต่อาจช่วยให้คนๆ นั้นได้เรียนในสิ่งที่เค้าชอบและมีความสุข แถมยังได้ทำงานที่ตัวเองรักอีกด้วย พี่มิ้นท์ยกตัวอย่างให้ดู 2 ตัวอย่างนะคะ
คนแรก ชอบวาดรูปตั้งแต่เด็ก ซึ่งเด็กๆ ฝีมือวาดก็ไก่กามาก แต่ยิ่งโตเขาก็ยิ่งพัฒนาตัวเอง ฝึกวาดรูปบ่อยๆ สุดท้ายความชอบในการวาดรูปก็ทำให้ได้เรียนในคณะศิลปกรรม และจบมาก็ยังเป็นจิตรกรวาดภาพสร้างรายได้อีกมากมาย
คนที่สอง ชอบเล่นเกมมาก เด็กๆ ติดเกมงอมแงม เรียน ม.ปลายมาก็ยังติดเกมไม่เลิก หากเป็นคนอื่นก็คงคิดว่าเกมเป็นแค่เรื่องบันเทิง เล่นแล้วก็จบไป แต่สำหรับคนนี้ความคิดแตกต่างจากคนอื่นคือ การใช้ความชอบเป็นแรงผลักดัน จากคนที่ชอบเล่นเกมก็มีแรงบันดาลใจอยากเป็นคนสร้างเกมบ้าง สุดท้ายก็เดินหน้าเลือกเรียนในคณะที่เปิดสอนเรื่องการออกแบบเกม เป็นต้น
ฉะนั้นเอาจุดเด่นในเรื่องความชอบและความถนัดของเราออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ค่ะ เรียนรุ่งแน่นอน

3. วิชาที่ชอบบอกคณะได้
อีกหนึ่งเทคนิคที่พลาดไม่ได้เลย คือ หาวิชาที่เราชอบ ซึ่งวิชาใน ม.ปลาย อาจจะเยอะ ดังนั้นให้น้องเตรียมกระดาษมาจดเลยค่ะ แบ่งครึ่งหน้ากระดาษคือ วิชาที่ชอบ กับวิชาที่ไม่ชอบ
วิชาที่ชอบ คือ วิชาที่น้องๆ เรียนแล้วสนุก รู้สึกอินทุกครั้งที่เรียน ไม่อยากขาดเรียนเลยซักคาบ ส่วนวิชาที่ไม่ชอบ ก็คือวิชาที่ยิ่งเรียนยิ่งเหนื่อย ยิ่งอยู่ด้วยยิ่งเครียด
การแยกวิชาที่ชอบและไม่ชอบทำให้น้องๆ เห็นอนาคตของตัวเองมากขึ้นว่าควรเน้นไปทางแนวไหน เพราะแต่ละคณะมีวิชาเรียนที่แตกต่างกัน เช่น ชอบเลข ก็เหมาะคณะบัญชี บริหาร เศรษฐศาสตร์หรือคณะอื่นๆ ที่มีการคำนวณ บางคนชอบภาษาอังกฤษ เกลียดเลข ก็อาจเน้นไปเรียนด้านภาษาไปเลย ซึ่งในมหาวิทยาลัยก็ไม่มีเรียนเลขด้วย หรือบางคนชอบสังคมฯ กับภาษา ก็เหมาะจะเรียนพวกสายมนุษยศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ รัฐศาสตร์ จบไปเป็นทูต นักสังคมฯ นักข่าว เป็นต้น

4. เลิกตามเพื่อน
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการ “ค้นหาตัวเอง” ถ้ามัวแต่ตามเพื่อน น้องๆ จะไม่มีวันเจอสิ่งที่ตัวเองต้องการแน่นอน เข้าใจว่าช่วงวัยรุ่นติดเพื่อน อยากเข้ามหาวิทยาลัยพร้อมเพื่อน แต่ถ้าคณะที่เพื่อนเรียนเราไม่ได้อยากเรียนเลยสักนิด ผลเสียจะตกที่เราเต็มๆ นะคะ อย่างแรกคือเสียการเรียนเพราะอาจเรียนไม่ไหว อย่างที่สองคือเสียใจ หากพบว่าเรียนไม่ไหวแล้วต้องสอบเข้าปี 1 ใหม่อีกรอบ ดังนั้นอยากค้นหาตัวเองให้เจอเร็วๆ ต้องเข้าใจก่อนว่าเรียนจบไปทุกคนต้องเรียนต่อในสิ่งที่ตัวเองต้องการ หากคิดแบบนี้ได้น้องๆ จะเริ่มค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบได้ โดยไม่ต้องตามเพื่อนอีกต่อไป
ส่วนใครที่กลัวว่าไม่มีเพื่อนตอนเรียนมหาวิทยาลัย เลิกคิดไปได้เลยค่ะ การเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นสังคมที่ใหญ่มาก คนมาจากทั่วสารทิศ ทุกคนต่างใหม่เหมือนกันหมด เป็นโอกาสดีที่เราจะได้รู้จักกันไว้ ดีไม่ดีได้เพื่อนเยอะกว่าตอนเรียนมัธยมอีกค่ะ และถึงจะเรียนกันคนละที่ เพื่อนเก่าก็ยังเป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม

5. บุคลิกบอกอนาคต
น้องๆ เคยสังเกตมั้ยว่าคนที่บุคลิกคล้ายๆ กันจะชอบอะไรเหมือนๆ กัน และคนที่ทำงานในแต่ละอาชีพจะมีบุคลิกที่แตกต่างกันไป เพราะบุคลิกที่เหมาะสมในแต่ละอาชีพจะทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญคือทำให้เราทำงานอย่างมีความสุขด้วย เช่น ถ้าน้องๆ เป็นคนชอบสอน ชอบอธิบาย อาชีพ “ครู” จะเหมาะมาก ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นคนที่ไม่ค่อยรอบคอบจะให้ไปเป็นนักบัญชีก็คงไม่เหมาะ



จิตวิทยาตาม หลักทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์ (John L. Holland)
ได้บอกไว้ว่าการสังเกตบุคลิกภาพของตัวเองสามารถค้นหาอาชีพที่เหมาะสมได้ โดยมี 6 ประเภทคือ
1.Social ชอบพบปะผู้อื่น ชอบงานบริการ ชอบช่วยเหลือคน ชอบการสอน ไม่ชอบงานที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์ อาชีพที่เหมาะสมเช่น หมอ ครู ประชาสัมพันธ์ นักฝึกอบรม มัคคุเทศก์ กลุ่มงานโรงแรม คณะที่คนกลุ่มนี้มักจะเลือกก็จะเป็นแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ แนวคณะสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม เป็นต้น
2.Investingate ชอบงานวิชาการ งานที่ซับซ้อนท้าทาย ชอบวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และคำนวณ ช่างสังเกต ไม่ชอบเข้าสังคม อาชีพที่เหมาะสมเช่น นักวิจัย นักวิชาการ หรืองานที่เกี่ยวข้องเชิงวิชาการ คณะที่คนกลุ่มนี้มักจะเลือกคือ คณะวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
3.Realistic ชอบงานที่ใช้เครื่องมือ ชอบการลงมือทำ ไม่ชอบการเข้าสังคม กลุ่มงานที่เหมาะสมก็จะเป็นกลุ่มงานช่าง วิศวกร สถาปนิก นักประดิษฐ์ เกษตรกร คณะที่เลือกได้ก็เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ เกษตร เทคนิคการแพทย์
4.Enterprising ชอบการวางแผนและชี้นำ กล้าแสดงออก มีความเป็นผู้นำ โน้มน้าวใจเก่ง งานที่เหมาะสมเช่น นักธุรกิจ การตลาด นายหน้าซื้อขาย ทนายความ ฯลฯ คณะที่คนกลุ่มนี้ชอบเลือกเช่น นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
5.Convention ชอบงานเอกสาร ตัวเลข การจัดเก็บข้อมูล ละเอียดรอบคอบ ตรงไปตรงมาไม่ค่อยยืดหยุ่น มีระเบียบ ไม่มีหัวด้านศิลปะ ชอบบรรยากาศการทำงานออฟฟิศ อาชีพที่เหมาะสม เช่น เลขาฯ นักบัญชี บรรณารักษ์ ธุรการ คณะที่คนกลุ่มนี้มักเลือกเรียนเช่น คณะบัญชี บริหาร สารสนเทศศาสตร์
6.Artistic ชอบแสดงออก รักอิสระ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่ค่อยมีระเบียบ อ่อนไหวง่าย มีอารมณ์ศิลปิน กลุ่มงานที่เหมาะสมจะเป็นแนวบันเทิง ที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และการแสดงออก เช่น นักแสดง นักจัดรายการ นักดนตรี นักแปล นักออกแบบ ศิลปิน คณะที่คนกลุ่มนี้มักเลือกเรียนเช่น อักษรศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ศิลปกรรม 
เป็นไงคะกับ 5 เทคนิคค้นหาตัวเองเข้าคณะที่อยากเรียน?คงไม่ยากเกินความสามารถ แต่ถ้าไม่รู้จริงๆลองถามพ่อแม่ไกด์ไลน์ดูก่อน คะเผื่อนครอบครัวจะเห็นสิ่งที่เราถนัดในตัวอยู่แล้ว และที่สำคัญ คิดและลงมือทำ ให้เกิดผลสำเร็จ จะได้ไม่มานั้นงเสียใจภายหลัง






10 อาชีพฮอตฮิต เรียนแล้วไม่ตกงาน !


รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สวนดุสิตโพล ม.ราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ ที่มีต่อสาขาวิชาที่เรียนแล้วจะได้งานทำ โดยสำรวจจากผู้ประกอบการผู้ใช้บัณฑิตที่กระจายตามสาขาวิชาต่างๆ นักวิชาการที่มีความสำคัญในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชาติ กลุ่มนายธนาคารซึ่งมีผลต่อการให้กู้ยืมเงิน นักปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับกลาง ฝ่ายบัญชี หัวหน้าฝ่ายพัสดุการคลังนโยบาย ฯลฯ รวม 1,376 ตัวอย่าง

       
เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่ได้มองธุรกิจของตัวเองแค่วันนี้ แต่มองไปถึง 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อสะท้อนออกมาว่าคนกลุ่มนี้ต้องการคนทำงานประเภทใดเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเป็นส่วนหนึ่งที่ม.ราชภัฎสวนดุสิตนำมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรต่างๆ

      
  นอกจากนี้ เป็นการแนะแนวทางให้กับอาจารย์แนะแนว 200 กว่าคนทั่วปริมณฑล เนื่องจากครูแนะแนวจะต้องดูเรื่องการบริหารความเสี่ยงการบริหารอนาคต เพราะการแนะแนวต่อไปในอนาคตจะต้องประกันความเสี่ยงว่าเรียนแล้วจะต้องไม่ตกงาน และเพราะความต้องการแรงงานมีความเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของตลาด และภาวะเศรษฐกิจ

       
ผลการสำรวจ 10
1.  การบัญชี - 19.71%
                                                                                      2.  แพทยศาสตร์ 18.75%
3.  บริหารธุรกิจ
12.02%
4.  คอมพิวเตอร์
10.10%
5.  วิศวกรรมศาสตร์
10.10%
6.  การตลาด
8.65%
7.  นิติศาสตร์
8.17%
8.  พยาบาลศาสตร์
4.81%
9.  การจัดการ
4.33%
10.รัฐศาสตร์
3.36%

        รศ.ดร.สุขุม กล่าวเสริมว่า เหตุที่สาขาการบัญชีอยู่ในอันดับ 1 เนื่องจากการทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารธุรกิจ การจัดการ การประกอบกิจการไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ต้องใช้บุคลากรทางด้านบัญชีทั้งสิ้น นอกจากนี้ หากธุรกิจมีนโยบายดีเท่าใดแต่ก้นถุงรั่ว หรือไม่มีการคิดเรื่องความคุ้มทุน ค่าใช้จ่าย ก็จบ

     
  
สำหรับแพทย์นั้นถือว่ามีการขาดแคลนบุคลากร แต่คนที่จะเรียนได้ต้องมีสติปัญญาที่ดี และต้องมีค่าใช้จ่ายในการเรียนที่สูงถ้าไม่ได้ทุนรัฐบาลซึ่งแพทย์และพยาบาลอยู่ในอันดับทอปเท็นตลอด ส่วนการตลาดหรือบริหารจริงๆ แล้วต้องยอมรับว่า ความต้องการด้านบุคลากรด้านการตลาดมีมาก แม้กระทั่ง มหาวิทยาลัยยังต้องมีฝ่ายการตลาดของตัวเองเพราะยุคของการแข่งขันมีมากขึ้น

       
ด้านคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทำให้ต้องอาศัยคนกลุ่มนี้ สำหรับนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ด้วยความที่โลกอยู่ในยุคของการแข่งขัน การแย่งชิงทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด เรื่องของกฎหมาย การปกครองเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ

       
โดยหากเปรียบเทียบผลวิจัยระหว่างปีที่ผ่านมากับปีนี้เห็นการเปลี่ยนแปลง คือ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์เดิมอยู่ต่ำกว่าทอปเท็น แต่ที่สามารถก้าวขึ้นอันดับทอปเท็นได้เชื่อว่าเป็นเพราะปัจจุบันเกิดกรณีความขัดแย้งที่ต้องอาศัยด้านกฎหมายมากขึ้น ในขณะที่ปีที่แล้วการเรียนสาขาสิ่งแวดล้อมมีความชัดเจนมากขึ้นก็ติดอยู่ในอันดับ

       
หรืออย่างเมื่อสองปีก่อน ในช่วงรัฐบาลของอดีตนายก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สาขาวิชาที่ขึ้นทอปเท็นก็จะเป็นเรื่องของบริหารจัดการ การจัดการองค์กร เพราะรัฐบาลเน้นเรื่องของธุรกิจ หรือถ้าเป็น 4-5 ปีก่อนเรื่องของไอทีมาแรงก็เป็นไอที เทคโนโลยีสารสนเทศ
       
       
อย่างไรก็ดี การทำโพลสำรวจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่างๆ เนื่องจากการศึกษาของไทยขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่น หลังการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคมนี้ ไม่ว่าพรรคการเมืองใดได้ขึ้นเป็นรัฐบาลก็เชื่อว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายซึ่งส่งผลต่อการศึกษาอย่างแน่นอน

       
เช่น ถ้ารัฐบาลมุ่งไปเรื่องของอุตสากรรมหลักสูตรด้านอุตสาหกรรมก็จะเกิด หรืออย่างช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมุ่งเรื่องของการเงินธนาคารทำให้ธนาคารเกิดขึ้นหลายแห่ง หลักสูตรด้านการเงินธนาคารก็เกิด

        หรือช่วงที่มีเรื่องของประชาธิปไตยคนก็มองว่าถ้าต้องการเรียนกฎหมายก็ควรเรียนที่ธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ หากหลังการเลือกตั้งเกิดรัฐประหารอีกนโยบายต่างๆ ก็ต้องเปลี่ยน อาชีพต่างๆ ที่จะเรียนก็จะมีผลเปลี่ยนแปลงไปด้วย